なるほどThai-Japanese Online Lesson

Thai-Japanese Online Lesson

サンワーン スントーン

タイ語・日本語教師 通訳

สอนภาษาญี่ปุ่น & ภาษาไทยออนไลน์

タイ語日本語教師 通訳

สอนภาษาญี่ปุ่น & ภาษาไทยออนไลน์

สังวาลย์ สุนทอง

SUNGWAL SUNTONG

Mobile-1 : +66(0)92-765-7111

Mobile-2 : +66(0)87-048-4626

E-mai : swthaigo@gmail.com

Shiawase Group Limited Partnership

Meesuwan Tower 10-th Floor Room 203-204

39/203 Soi Pridi-Phanomyong-14 Sukhumvit -71

Khlongtan-nua Wattana Bangkok 10110

なるほどタイ語会話オンラインレッスン

-30年に渡るタイ語&日本語の指導経験を駆使した

オンラインレッスンで教室に通う等の時間を削減

-初心者指導の経験豊富、日本語での指導可

-絶対話せる&好きになるレッスンをご提供

-オリジナル教材による独自の指導メソッドを使用

-喋ってしゃべって自然に身に付く実戦会話に

則した豊富な言い換え練習

-タイ語上達の悩みにも効果絶大な指導

-短期間でタイ文字習得可

さらにタイの生活&文化に触れて理解できるコン

テンツ、ライブ動画や動画教材などもご提供します

タイ日のことわざを比較し、

さまざまな場面での豊富な例文を掲載

วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

อ. สังวาลย์ สุนทอง


การสอนการออกเสียงภาษาไทย
ข้อควรปฏิบัติในการสอนการออกเสียงภาษาไทยให้แก่ผู้เรียนชาวต่างชาติ
จะสอนอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ  และไม่น่าเบื่อ (มีความสนุก)
  1.   มีลำดับขั้นตอนก่อนหลัง
  2.  ทำความเข้าใจเนื้อหากับนักเรียนก่อน  ก่อนที่จะเข้าบทเรียน  หรือหัวข้อใหม่  ( เปรียบเทียบเสียงซึ่งกันและกันของทั้ง
     สองภาษา ถ้าผู้สอนรู้ภาษาแม่ของผู้เรียน )
  3.  เมื่อได้อธิบายชี้แจง ทำความเข้าใจแล้วให้เริ่มฝึกอย่างจริงจัง และฝึกให้บ่อยครั้ง (ตามความเหมาะสม) จนเห็นว่า
     ผู้เรียนสามารถออกเสียงได้ตามที่คาดหวัง  จึงเปลี่ยนไปสู่ขั้นตอนต่อไป
  4.  ให้กำลังใจด้วยการชมเชยบ้างเป็นบางครั้ง  และผู้สอนต้องยิ้มแย้มอยู่เสมอเพื่อสร้างบรรยากาศในการเรียนการสอน
  5.   ในส่วนที่เป็นหัวข้อสำคัญ (ซึ่งจะขออธิบายเพิ่มเติมภายหลัง) ต้องให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกเป็นรายบุคคลทีละคน แต่ใน
     ส่วนที่เป็นแบบฝึกหัดควรให้ฝึกไปพร้อมๆ กัน
  6.   ให้ผู้เรียนที่ยังไม่ได้ฝึก  หรือผู้ที่ฝึกผ่านไปแล้ว คอยสังเกตการออกเสียงของเพื่อนคนอื่น ๆ ไปด้วย  และเมื่อรู้สึกว่า
     ผู้เรียนเหนื่อย ควรหยุดพักบ้าง ( ประมาณ 2 นาที ) 
  7.  แก้เสียงให้ทันทีที่ผู้สอนเห็นว่าผู้เรียนออกเสียงไม่ถูก  หรือผิดเพี้ยนไป
  8.   ใช้อุปกรณ์ช่วยในการฝึกออกเสียงเช่น กระจกส่องเงา (เพื่อดูปาก) กระดาษ (เพื่อสังเกตเสียงที่มีลมและไม่มีลม)เป็นต้น
  9.   เตือนผู้เรียนอยู่เสมอว่าให้พยายามออกเสียงเลียนแบบเสียงของครูผู้สอนให้มากที่สุด หรือเสียงที่ได้จากแหล่งเสียงอื่น
     เช่น เทป C D ที่เป็นอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอน เป็นต้น
10.    ในระหว่างช่วงของการออกเสียง ควรเปลี่ยนบรรยากาศบ้าง เช่น การนับเลข นับเวลา นับวันนับเดือน หรืออื่น ๆ  ซึ่ง
      ก็ถือเป็นการฝึกออกเสียงเหมือนกัน
Introduction

      ก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่บทเรียนถ้าสามารถอธิบาย(ด้วยภาษาแม่ หรือภาษาที่ผู้เรียนเข้าใจ)ให้ผู้เรียนเข้าใจได้  ควรจะอธิบายลักษณะเด่น หรือลักษณะพิเศษของภาษาไทยอย่างย่อ ๆ ดังนี้
1-1   เป็นคำโดด หรือคำพยางค์เดียว เช่น
       -คำนาม  ปู่  ย่า  ตา  ยาย  พ่อ  แม่  ไก่  ปลา
       -คำคุณศัพท์  เร็ว  ช้า  เปรี้ยว  หวาน  เก่ง  สวย
       -คำกริยา  ฟัง  พูด  อ่าน  เขียน  เดิน  วิ่ง  กิน
1-2   มีเสียงวรรณยุกต์ 5 ระดับคือ
        -เสียงวรรณยุกต์ เสียงสามัญ     mai       ไมค์
       -เสียงวรรณยุกต์ เสียงเอก       mài       ใหม่  
       -เสียงวรรณยุกต์ เสียงโท        mâi       ไม่, ไหม้
       -เสียงวรรณยุกต์ เสียงตรี        mái         ~ มั้ย (~ไหม ?)
       -เสียงวรรณยุกต์ เสียงจัตวา     mǎi       (ผ้า)ไหม
1-3   มีตัวสะกด(คล้ายกับภาษาอังกฤษ)
  1.     ~ n- man         2.     ~ ŋ (~ ng)- song                 
   3.     ~ m- room      4.     ~ t- cat
  5.     ~ k- book        6.     ~ p- map
  7.     ~ w- new         8.     ~ y- buy
* มีความรู้อีกมากมายเพียงแต่เรามาร่วมงานกัน คุณจะได้รับการถ่ายทอดอย่างหมดเปลือก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น