なるほどThai-Japanese Online Lesson

Thai-Japanese Online Lesson

サンワーン スントーン

タイ語・日本語教師 通訳

สอนภาษาญี่ปุ่น & ภาษาไทยออนไลน์

タイ語日本語教師 通訳

สอนภาษาญี่ปุ่น & ภาษาไทยออนไลน์

สังวาลย์ สุนทอง

SUNGWAL SUNTONG

Mobile-1 : +66(0)92-765-7111

Mobile-2 : +66(0)87-048-4626

E-mai : swthaigo@gmail.com

Shiawase Group Limited Partnership

Meesuwan Tower 10-th Floor Room 203-204

39/203 Soi Pridi-Phanomyong-14 Sukhumvit -71

Khlongtan-nua Wattana Bangkok 10110

なるほどタイ語会話オンラインレッスン

-30年に渡るタイ語&日本語の指導経験を駆使した

オンラインレッスンで教室に通う等の時間を削減

-初心者指導の経験豊富、日本語での指導可

-絶対話せる&好きになるレッスンをご提供

-オリジナル教材による独自の指導メソッドを使用

-喋ってしゃべって自然に身に付く実戦会話に

則した豊富な言い換え練習

-タイ語上達の悩みにも効果絶大な指導

-短期間でタイ文字習得可

さらにタイの生活&文化に触れて理解できるコン

テンツ、ライブ動画や動画教材などもご提供します

タイ日のことわざを比較し、

さまざまな場面での豊富な例文を掲載

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สุริยุปราคาเต็มดวงที่ลพบุรี 24 ตุลาคม 2538

 พานักเรียน ( ส.ส.ท.)ไปดูสุริยุปราคาเต็มดวงที่ลพบุรี 24 ตุลาคม 2538
แนวสุริยุปราคาเต็มดวงผ่านท้องที่ 36 อำเภอ
ในเขต 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตาก กำแพงเพชร อุทัยธานี นครสวรรค์ ลพบุรี เพชรบูรณ์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สระแก้ว
พิจิตร และ จังหวัดชัยภูมิ

นี่เป็น website ของนักเรียนคนหนึ่งที่ไปด้วยกันในสมัยนั้น ในยุคที่คอมพิวเตอร์ยังเป็นเรื่องไกลตัวมาก
http://kuruzou.zero-yen.com/nisshoku.htm

นำเสนอผลงานทางวิชาการ

 เรื่อง "การสอนการออกเสียงภาษาไทยสำหรับผู้เรียนชาวญี่ปุ่น"
http://www.tpa.or.th/slc/sabdavichakarn.html

タイ文字のテキスト・หนังสือเรียนอ่านเขียนภาษาไทยแบบบูรณาการ ( สังวาล สุนทอง)

คำกล่าวนำ

      เนื่องจากผู้แต่งตำราอ่านเขียนภาษาไทยเล่มนี้ได้เริ่มสอนภาษาไทยให้แก่ชาวญี่ปุ่นมาตั้งแต่ ปี ค. ศ. 1991 จนถึงปีปัจจุบัน ( 2011) จากประสบการณ์ที่ผ่านมาได้เจอทั้งข้อดี ข้อด้อย  และข้อปัญหาในการเรียนการสอนต่าง ๆ ทั้งที่มาจากตัวผู้เรียนเองก็ดี  และจากตัวเองที่เป็นผู้สอนก็ดี  ตลอดจนอุปกรณ์ตำราเรียนต่าง ๆ ทั้งหมดทั้งสิ้นได้เป็นแรงบันดาลใจ  และเป็นกำลังใจให้รวบรวมเอาประสบการณ์ที่ผ่านมาถ่ายทอดในตำราชุดนี้  ซึ่งมีความคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าตำราอ่านเขียนภาษาไทยเล่มนี้จะเกิดประโยชน์ทั้งแก่ผู้เรียน  และผู้สอนไม่มากก็น้อย
 แบบเรียนอ่านเขียนภาษาไทยแบบบูรณาการ เล่มนี้ ได้เกิดจากแนวคิดที่ผู้เขียนต้องการจะช่วยลดภาระในการจดจำของผู้เรียน  และให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเป็นระบบเป็นขึ้นเป็นตอน ซึ่งรูปแบบและเนื้อหาในแบบเรียนเล่มนี้จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถประมวลผลได้เองทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจการอ่านการเขียนภาษาไทยได้อย่างลึกซึ้ง ยั่งยืน  และยังสามารถนำไปต่อยอดเรียนรู้ด้วยตัวเองได้อีกด้วย  กล่าวคือแบบเรียนเล่มนี้ได้คัดเลือกและรวบรวมเอาคำศัพท์ และวิธีการอ่านการเขียนภาษาไทยที่ผู้เรียนจำเป็นต้องรู้ (ที่ยังไม่จำเป็น ต้องรู้ไม่ได้นำมาเขียนไว้ในเล่มนี้) จริง ๆ เพื่อให้สามารถอ่านและเขียนภาษาไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ได้อย่างครบถ้วน 
     กว่าจะกลายมาเป็นลำดับเนื้อหาและขั้นตอนก่อนหลังที่ท่านเห็นอยู่ในตำราเล่มนี้ ได้ผ่านการใช้ทดลองสอน  ได้ผ่านการพัฒนาปรับปรุง เปลี่ยนแปลงอย่างเป็นขั้นเป็นตอนต่อเนื่องมาโดยตลอด ในช่วงระยะเวลาหลายปี  ดังนั้นจึงอยากขอความกรุณาจากผู้ใช้แบบเรียน หรือผู้สอนได้ทำความเข้าใจ  และให้ความสำคัญกับทุกขั้นตอนที่ได้แจกแจงไว้ในแต่ละบทเรียนแล้ว 


ความเห็น  และมุมมองของผู้เขียนเกี่ยวกับผู้เรียนชาวญี่ปุ่น
      ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า  ผู้แต่งได้สอนภาษาไทยให้กับชาวญี่ปุ่นมาเป็นเวลานานพอสมควร  จึงอยากจะขอตั้งข้อสังเกตเพื่อถ่ายทอดความเห็น  และมุมมองส่วนตัวเกี่ยวกับ  การสอนอ่านเขียนภาษาไทยให้กับผู้เรียนชาวญี่ปุ่น
อย่างพอสังเขป เป็นข้อ ๆ ดังต่อไปนี้
(1)  ในเรื่องการอ่านการเขียนเป็นสิ่งที่คนญี่ปุ่นได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงชั้นประถมจนถึงชั้นมัธยมต้นเป็นช่วงที่ได้รับการฝึกอ่านเขียนมากที่สุดจนทำให้กลายเป็นลักษณะนิสัยรักการอ่านการเขียนของชาวญี่ปุ่น  ดังนั้นผู้สอนไม่ต้องกลัวว่า  จะเป็นการสร้างความลำบากให้ผู้เรียนถ้าจะต้องฝึกอ่านฝึกเขียนมากตามสมควร
(2)  สำหรับชาวญี่ปุ่นการเรียนในชั้นเรียนกับการทำการบ้านนั้นถือว่าเป็นเรื่องเดียวกันซึ่งมีความสำคัญ  และมีความจำเป็นอย่างยิ่ง  เพราะฉะนั้นผู้สอนควรให้การบ้านแก่ผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ  หรือทุกครั้งตามความเหมาะสมกับบทเรียนนั้น ๆ     
(3)  ความสามัคคี การทำงานเป็นกลุ่ม และการร่วมมือกันอย่างเหนียวแน่นก็ถือเป็นลักษณะนิสัยอย่างหนึ่งของชาวญี่ปุ่น
ดังนั้นการบริหารจัดการให้ผู้เรียนได้ฝึกอ่านฝึกเขียนไปพร้อม ๆ กัน  และมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันก็ยิ่งจะทำให้การเรียน
การสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 
(4)  เป็นที่ทราบกันดีว่าพื้นฐานของชาวญี่ปุ่นทั่ว ๆ ไปจะเป็นผู้ที่มีวินัย มีแบบแผนในการทำงาน ในการใช้ชีวิต รู้คิดวิเคราะห์ วินิจฉัย และมีความรับผิดชอบสูง  จะยอมรับและเชื่อในเรื่องที่เป็นเหตุเป็นผล  ดังนั้นถ้าได้ชี้แจงจุดประสงค์ และแผนการเรียนการสอนตลอดจนเป้าหมายให้ผู้เรียนทราบก็ยิ่งจะทำให้การเรียนการสอนมีความน่าสนใจ  มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
และในที่สุดก็จะนำไปสู่การได้รับความร่วมมือจากผู้เรียน  และเกิดบรรยากาศที่ดีในการเรียนการสอนต่อไป